ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ

การตั้งศาลพระภูมิเป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมานาน ความเชื่อนี้เกี่ยวกับ “พระภูมิ” อันหมายถึงวิญญาณ หรือสัมภเวสีที่ดูแลรักษาพื้นดินที่ผู้อยู่อาศัยมาปลูกบ้าน สร้างอาคาร สร้างสำนักงาน โดยต้องดูฤกษ์ผูกดวง และมีพิธีกรรมตั้งศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่นิยมปฏิบัติ แต่ไม่ได้เป็นข้อกำหนดว่าต้องทำทุกบ้าน

ศาลพระภูมิ 
แท้จริงแล้วมีชื่อเต็มมาจากศาลพระภูมิชัยมงคลและพระภูมิยังแปลแบบตรงตัวได้ว่า เจ้าที่ ๖(คนจีนเรียกว่า ตี่จู้เอี๊ยะ) หมายถึง เจ้าที่ผู้ดูแลแผ่นดิน ที่จะช่วยปกป้องดูแลบ้านเรือน เคหะสถาน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งสวนไร่นา ซึ่งมีที่มาของความเชื่อทั้งจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน

NO.SK MD3 ศาลพระภูมิ เจ้าที่ ทรงโมเดิร์น จานศาล 69x69 ซม. 3

ตั้งแต่อดีต คนไทยมีความเชื่อที่ผูกกับการปลูกบ้าน เมื่อสร้างบ้านเสร็จต้องเชิญพราหมณ์หรือผู้ที่มีความรู้ด้านการตั้งศาลมาเชิญเทพให้มาสถิตที่เจว็ดในศาลพระภูมิ เพื่อขอพรบันดาลให้เกิดโชคลาภและความสุขแก่ผู้อยู่อาศัย
โดยศาสนาพราหมณ์นั้นมีจุดกำเนิดมาจากโอรส 9 พระองค์ของท้าวทศราช ผู้ปกครองนคร กรุงพาลี กับพระมเหสีพระนางสันทรทุกเทวี 
โดยตำนานของศาลพระภูมิ เล่าถึงกษัตริย์ท้าวทศราช มีมเหสีชื่อพระนางสันทาทุกข์ ครอบครองกรุงพลี มีโอรส 9 พระองค์ แต่ละพระองค์มีความสามารถ จึงส่งไปรักษาถิ่นฐานต่างๆ ได้แก่

1. พระชัยมงคล ถูกส่งไปรักษาบ้านเรือน ร้านค้า โรงหอค้าต่างๆ
2. พระนครราช ถูกส่งไปรักษาประตูเมือง ป้อม และค่าย
3. พระเทเพน ถูกส่งไปรักษาคอกสัตว์ โรงช้างม้า วัวควาย
4. พระชัยศพณ์ ถูกส่งไปรักษายุ้งฉางข้าว เสบียงคลัง
5. พระคนธรรพ์ ถูกส่งไปรักษาเรือนหอบ่าวสาว
6. พระธรรมโหรา ถูกส่งไปรักษาไร่ นา ทุ่ง ลาน ป่าเขา
7. พระเทวเถร ถูกส่งไปรักษาอาราม วัด วิหาร ปูชนียสถานต่างๆ
8. พระธรรมิกราช ถูกส่งไปรักษาอุทยาน และสวนผลไม้
9. พระทาษธารา ถูกส่งไปรักษา ห้วย หนอง คลอง บึง และแม่น้ำ

แต่ต่อมาได้กระทำสิ่งที่ไม่ดีและเบียดเบียนมนุษย์จนทำให้พระศิวะมีโองการให้พระนารายณ์(พระวิษณุ) อวตารลงมาปราบและเมื่อปราบสำเร็จก็ขับไล่ทุกคนออกไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ทำให้ราษฎรอยู่กันอย่างเป็นสุข ด้วยสภาพที่ต้องอยู่อย่างยากลำบากทำให้พระราชา พระมเหสี และพระโอรสทั้ง 9 สำนึกผิดและปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรมและขอกลับมาอยู่ที่เมืองดังเดิม แต่พระนารายณ์ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเพียง 1 เสาปักลงผืนดินแทน

ส่วนความเชื่อทางศาสนาพุทธ ตำนานความเป็นมาของพระภูมิไนพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ เสด็จออกบวช และประทับบำเพ็ญญาณสมาบัติใต้ต้นไทรใหญ่ จนตกกลางคืนก็ปรากฎภูมิเทวดาทรงพระนามว่า พระเจ้ากรุงพาลี ซึ่งไม่พอใจที่ ที่พระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีในถิ่นตนจึงขับไล่ พระโพธิ์สัตว์จึงแสดงอิทธิฤทธิ์กินอาณาบริเวณพื้นที่ของพระเจ้ากรุงพาลีจนหมดสิ้น ทำให้พระเจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อาศัยต้องออกไปอยู่นอกเขตมนุษย์ จนทนไม่ไหวจึงให้คนใช้ 3 คน ไปขอแบ่งที่ดินจากพระโพธิ์สัตว์ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงประทานให้และทรงสั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาลีตั้งมั่นในความสุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกตลอดไปและหากกระทำการมงคลใด ๆ จะต้องทำพิธีบูชาพระเจ้ากรุงพาลีในฐานะเจ้าของที่ จึงจะประสบความสำเร็จมีความสุขและเจริญรุ่งเรือง

แน่นอนว่าการที่เราคำนึงถึงหลักความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเองมีความสบายใจและส่งเสริมให้ผู้อยู่มีความเจริญก้าวหน้าแล้วยังถือเป็นการสืบถอดหลักความเชื่อและวัฒนธรรมของพวกเราให้คงอยู่ต่อไปอีกด้วย

สุวัฒน์ การช่าง
[email protected]
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.