วิธีตั้งศาลเจ้าที่ให้ถูกต้อง ปัง ๆ เฮง ๆ เสริมโชคลาภ

thai spirit house with ficus pumila background

วิธีตั้งศาลเจ้าที่ให้ถูกต้อง ปัง ๆ เฮง ๆ เสริมโชคลาภ

การตั้งศาลเจ้าที่

การตั้งศาลเจ้าที่ ต้องบอกเกี่ยวกับความหมายของคำว่า เจ้าที่ เสียก่อน เจ้าที่ก็คือ เป็นวิญญาณที่มีฤทธิ์ สามารถดูแลคุ้มครองอาณาเขตภายในบ้านของเราได้ เป็นเจ้าของดั้งเจ้าของเดิมที่อยู่ตรงนั้นมาหลายร้อยหลายพันปี จึงต้องมีการกล่าวอัญเชิญ เจ้าที่ ( ปู่เจ้าที่ ย่าเจ้าที่ ) เชิญท่านขึ้น เพื่อไม่เป็นการเหยียบย้ำท่านถือว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าที่ เป็นสิ่งสำคัญ

ศาลเจ้าที่ คึณตาคุณยาย SPIRIT HOUSE

การตั้งศาลเจ้าที่นั้น สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ก็คือ การหาตำแหน่งการตั้งศาลที่ถูกต้อง เพราะถ้าตั้งผิดตำแหน่งผิดที่ อาจส่งผลกระทบได้ ลักษณะชัยภูมิที่ถูกต้องของการตั้งศาล จะต้องเป็น ดังต่อไปนี้
        1. การตั้งตรงกับประตูทางเข้าบ้าน ตำแหน่งศาลที่ถูกต้อง เวลาเดินเข้าบ้านจะต้องมองเห็นทันที ซึ่งตำแหน่งที่ตรงกับประตูถือเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะวางตำแหน่งนี้กันอยู่แล้ว แต่จะมีบางกรณีเท่านั้น ที่ศาลเจ้าที่อาจวางตำแหน่งอื่น เช่น ด้านข้างของตัวบ้าน ซึ่งมักจะเป็นการวางเพื่อแก้ไขฮวงจุ้ยมากกว่า
        2. ห้ามวางศาลหลบมุม หรือมีสิ่งของมาปิดบังหน้าศาล บริเวณหน้าศาลเจ้าที่จะ
ต้องมีพื้นที่โล่ง ห้ามมีสิ่งใดมาปิดบัง บางบ้านเอาศาลไปวางหลบอยู่ด้านหลังบ้านเดินเข้า
บ้านมองไม่เห็นศาลลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายวางศาลผิด
        3. ห้ามวางศาลพิงห้องน้ำ นี่ถือเป็นตำแหน่งต้องห้ามเลยทีเดียว เพราะศาลเจ้าที่ถือเป็นธาตุไฟ เมื่อนำไปพิงห้องน้ำ (ธาตุน้ำ) ก็เท่ากับเอาน้ำไปพิฆาตไฟ ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลก็จะเสื่อมถอยลง หลายบ้านที่วางแบบนี้ มักจะไม่มีเจ้าที่ มีแต่ศาลเปล่าๆ ตั้งอยู่เท่านั้น
        4. ห้ามวางศาลใต้บันได หรือบริเวณทางขึ้นลงบันได กรณีแบบนี้จะพบบ่อยสำหรับอาคารพาณิชย์ ที่หาตำแหน่งในการวางเจ้าที่ค่อนข้างยาก เพราะพื้นที่มีน้อย บริเวณบันไดจะก่อสภาพที่เคลื่อนไหว ศาลเจ้าที่ต้องการความนิ่งสงบ การเอาศาลไปวางบริเวณบันได ไม่ว่าจะเป็นใต้บันได หรือทางขึ้นลงบันได ก็เท่ากับรบกวนเจ้าที่โดยตรง ตำราฮวงจุ้ยบอกว่าเจ้าที่มักไม่ค่อยอยู่บ้าน (ชอบเที่ยว)
        5. ห้ามวางศาลใต้คาน ศาลจะถูกคานกดทับ ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลลดทอนลงไปได้เช่นเดียวกัน
        การตั้งศาลเจ้าที่ภายในบ้าน จะมีเงื่อนไขค่อนข้างทีจะมาก จึงมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสม ก็ไม่ควรจะตั้งศาล เพราะถ้าตั้งอาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี การไม่ตั้งศาลเจ้าที่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร หลายคนกลัวมากจนเกินเหตุ บ้านที่ไม่มีศาลใช้วิธีไหว้เจ้ากลางแจ้งในช่วงเทศกาลต่างๆ แทนก็ได้
         กรณีที่ตั้งศาลเจ้าที่แล้วไม่ดูแล ปล่อยศาลทิ้งร้างไม่เคยกราบไหว้บูชาเลย อย่างนี้ก็อย่าตั้งเสียดีกว่า ถ้ารู้ว่าตัวเองไม่มีเวลา เพราะถ้าเจอเจ้าที่ประเภทจู้จี้ เจ้าระเบียบ ก็อาจจะเจอดีโดนเจ้าที่เล่นงานเอา ทำให้ป่วยบ้าง ทำให้ทะเลาะกันบ้าง หรือไม่ก็ทำให้ลูกจ้างเข้าๆ ออกๆ จนเจ้าของบ้านปวดหัวได้

อุปกรณ์ตั้งศาลเจ้าที่
 1. ตา-ยาย/เจว็ดเจ้าที่ (สำคัญที่สุดในศาล) 
2. ตุ๊กตาชาย หญิง  ตุ๊กตาช้างม้า (ถือเป็นข้าทาสบริวาร)
3. ละครรำ
4. กระถางธูป
5. แจกัน
6. เชิงเทียน
7. ธูป เทียน ทองคำเปลว
8. โอ่งเงิน ทอง
9. ผ้าสามสี
10. น้ำอบ แป้งเจิม น้ำมันหอม
11. ข้าวตอก ถั่ว งา
12. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน
13. ม่านหน้าศาล
14. ผ้าขาว – ผ้าแดง
 
เครื่องสังเวย
1. บายศรีปากชาม 1 คู่
2. ไข่ต้มใส่บายศรี
3. หมูนอนตอง 
4. กุ้งพล่า ปลายำ
5. ไก่ต้ม
6. เผือก มันต้ม
7. ปลาช่อนนอนตอง
8. ถั่ว งา นมข้น
9. ผลไม้มงคล 5 ชนิด
10. ขนมคาว หวาน 5 ชนิด
11. ต้มแดง ต้มขาว
12. มะพร้าวน้ำหอม
13. หมากพูล
14. เหล้าขาว
15. ข้าวสวย
16. ดอกไม้มงคล
17. พวงมาลัยดอกไม้สด เช่น ดอกดาวเรือง

 โดยส่วนใหญ่คนไทยมักจะตั้งศาลพระภูมิและศาลเจ้าที่คู่กัน โดยจะต้องทำพิธีอันเชิญพระภูมิก่อนแล้วจึงทำการอันเชิญเจ้าที่
 จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น คงทำให้ท่านเข้าใจถึงความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งศาล  และรูปแบบลักษณะของศาลพระพรหม  ศาลพระภูมิ และศาลเจ้าที่ ว่ามีความต่างกันอย่างไร  รวมถึงขั้นตอนการทำพิธีตั้งศาลและสิ่งที่จะต้องเตรียมเมื่อต้องการตั้งศาล ซึ่งจากเดิมดูเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ต่อไปนี้จะไม่เป็นเรื่องที่ยุ่งยากอยากที่คิดอีกต่อไป 

สุวัฒน์ การช่าง
[email protected]
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.