บทความ

การที่คุณได้ทำการตั้งศาลพระภูมิ ไว้ในบ้านนั้นถือว่าเป็นการดี เพราะว่าบ้านที่มีองค์เทพเทวา มาสถิตดูแลอยู่นั้น ย่อมไม่ถูกรบกวนจากพวกสัมภเวสี ผีเร่ร่อน และสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย และเราต้องดูแลท่านให้เหมือนญาติผู้ใหญ่ คอยดูแลเรื่องเครื่องสังเวย รวมถึงน้ำท่า หมากพูล-บุหรี่ ที่สำคัญการดูแลความสะอาดตัวศาลพระภูมิ และรอบๆ บริเวณของศาลพระภูมิให้ดูสะอาดตาน่ามอง ศาลก็เหมือนบ้านของท่าน เราต้องคอยดูแลอย่าปล่อยให้สกปรก ทั้งตัวศาล และบริเวณรอบศาล ท่านจะให้ความเมตตาเรามากขึ้น การทำความสะอาดและดูแลศาลนั้นแบ่งตามหัวข้อดังนี้ 1. การดูแลความสะอาด เราต้องคอยดูแลความสะอาดทั้งตัวศาล ทั้งภายในและภายนอกศาล ภายในตัวศาลนั้นไม่ค่อยมีอะไรให้ทำมากนัก นอกจากอาจจะมีฝุ่นมาจับ หรือมีใยแมงมุมมาทำรัง เราต้องทำความสะอาดด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ไปโดนองค์พระชัยมงคลเป็นเด็ดขาด ส่วนการทำความสะอาดภายนอก เราก็ดูแลจัดเก็บ พวกดอกไม้ที่แห้งเหี่ยวแล้วเอาไปทิ้ง พวกขี้ธูปที่ตกลงตรงศาล หรื่อบนโต๊ะก็หาผ้ามาเช็ดทำความสะอาดเสียให้ดูสวยงาม 2. การดูแลความสวยงามของตัวศาล เมื่อเราได้ทำความสะอาดตัวศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็ควรที่จะหาพวงมาลัย หรือดอกไม้มาใส่แจกัน ถวายท่านให้ดูเป็นที่สวยงามตา หรือหาดอกบัวเงิน บัวทองทาใส่แจกันให้ท่าน นอกจากความสวยความงามที่ได้รับแล้ว ยังมีความเชื่อกันว่าเมื่อเรานำเอาบัวเงิน บัวทองมาถวายให้ท่าน ท่านก็จะพอใจและประทานโชคลาภให้กับเรา เหมือนที่เราเอาบัวเงิน บัวทองมาถวายให้ท่าน และยังทำให้ศาลแลดูสวยสดงดงามขึ้นอีกมาก 3. การดูแลการแตกหักของตัวศาล และของในศาล เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก ในการคอยดูแลสิ่งที่ชำรุด แตกหัก ภายในศาลเพราะว่า โบราณมีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่า สิ่งเคารพบูชาไม่สมควรที่จะมีของแตกหักอยู่ในศาล จะเป็นสิ่งอัปมงคลอย่างมากกับเจ้าของบ้าน เมื่อเห็นว่าของในศาลมีความเก่า หรือชำรุดแตกหักก็ควรที่จะทำการเปลี่ยนใหม่อย่างทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะจะทำให้พระภูมิท่านไม่พอใจและจะไม่อยู่ดูแลบ้านให้เราอีกต่อไป เนื่องจากสถานที่ ที่เราจัดให้ท่านอยู่นั้นไม่สมกับพระยศ พระเกียรติ ของท่าน จะเป็นการยุ่งกันใหญ่ แม้แต่ตัวศาลที่โดนต้นไม้ตกมาทับ หรือชำรุดด้วยกาลเวลา ก็ต้องรีบเปลี่ยนอย่างทันทีครับ ไม่อย่างงั้นเมื่อท่านเสด็จกลับวิมานของท่านแล้ว จะต้องวุ่นวายเสียเงิน เสียทอง ในการที่จะต้องทำการตั้งศาลและอัญเชิญท่าน กลับมาดูแลบ้านของเราอีกครั้งหนึ่ง 4. การดูแลแสงสว่างภายในศาล ในเวลากลางคืน ตัวศาลนั้นก็เปรียบเหมือนบ้านที่เราอยูอาศัย ถ้ายามคำคืนไม่มีการเปิดไฟภายในบ้าน บ้านนั้นก็ไม่น่าอยู่ ไม่น่ามองฉันใด ศาลพระภูมิก็ฉันนั้น เราควรที่จะเปิดไฟให้ท่านในยามค่ำคืน เพื่อที่ท่านจะได้พอพระทัยในวิมานประสาทที่เราได้จัดไว้รับรองท่าน เราดูแลท่านดีอย่างไร ท่านก็ดูแลเราดีอย่างนั้นเช่นกัน 5. การดูแลความสะอาดรอบบริเวณศาลพระภูมิ จะต้องดูแลไม่ให้มี กองขยะมูลฝอยอยู่ข้างศาลพระภูมิ หรือบริเวณใกล้เคียงเด็ดขาด หาต้นไม้มาปลูกบริเวณใกล้ๆ กับศาลให้เป็นไม้ดอก ต้นไม้ชนิดที่เรา จะทำการตัดแต่งได้ง่าย ให้ดูเป็นที่น่าพักผ่อนและสวยงาม เพียงเท่านี้บ้านของท่านจะมีความสุข น่าอยู่ และปลอดภัยจากสิ่งอัปมงคลทั้งหลายอย่างแน่นอน...

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश ทมิฬ: பிள்ளையார் อังกฤษ: Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระนามอื่นที่พบ เช่น พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศวร์ หรือ คณปติ เป็นเทวดาในศาสนาฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลายที่สุดพระองค์หนึ่ง พบรูปแพร่หลายทั้งในประเทศอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ฟิจิ, ไทย, บาหลี, บังคลาเทศ นิกายในศาสนาฮินดูทุกนิกายล้วนเคารพบูชาพระคเณศ ไม่ได้จำกัดเฉพาะในคาณปัตยะเท่านั้น และการบูชาพระคเณศยังพบในพุทธและไชนะอีกด้วยพระลักษณะที่โดดเด่นจากเทพองค์อื่น ๆ คือพระเศียรเป็นช้าง เป็นที่เคารพกันโดยทั่วไปในฐานะของเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค, องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา ในฐานะที่พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น ในบทสวดบูชาต่าง ๆ ก่อนเริ่มพิธีการหรือกิจกรรมใด ๆ ก็จะเปล่งพระนามพระองค์ก่อนเสมอ ๆสันนิษฐานกันว่าพระคเณศน่าจะปรากฏขึ้นเป็นเทพเจ้าครั้งแรกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 ส่วนหลักฐานยืนยันว่ามีการบูชากันย้อนกลับไปเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 4–5 สมัยอาณาจักรคุปตะ ถึงแม้พระลักษณะจะพัฒนามาจากเทพเจ้าในพระเวทและยุคก่อนพระเวท เทพปกรณัมฮินดูระบุว่าพระคเณศทรงเป็นพระบุตรของพระศิวะและพระปารวตี พระองค์พบบูชากันอย่างแพร่หลายในทุกนิกายและวัฒนธรรมท้องถิ่นของศาสนาฮินดู พระคเณศทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุดในนิกายคาณปัตยะ คัมภีร์หลักของพระคเณศเช่น คเณศปุราณะ, มุทคลปุราณะ และ คณปติอรรถวศีรษะ นอกจากนี้ยังมีสารานุกรมเชิงปุราณะอีกสองเล่มที่กล่าวเกี่ยวกับพระคเณศ คือ พรหมปุราณะ และ พรหมันทปุราณะนอกจากนั้นพระพิฆเนศ ยังเป็นที่เคารพนับถือของ ศาสตร์ในด้านศิลปิน และศิลปะต่างๆ สังเกตได้จากในพิธีต่างๆจะมีการอัญเชิญพระพิฆเนศ มาร่วมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่คอยประสิทธิ์ประศาสตร์พรให้กับผู้ร่วมพิธีอีกด้วย การทำแท่น หรือฐาน สำหรับตั้งศาลพระพิฆเนศวรการเตรียมแท่นหรือฐานสำหรับตั้งศาลต้องทำให้ตรงกับหลักของฮวงจุ้ยหรือหลักการที่ถูกต้อง1. ต้องดูพื้นที่ และทำแท่นหรือฐานให้ถูกทิศถูกทางของบ้าน,หน่วยงาน,หรือโครงการ หรือสถานที่ประกอบการนั้นๆ โดยสามารถจ้างซินแสหรือหมอดูฮวงจุ้ยผู้ชำนาญการในการดูฮวงจุ้ยมากำหนดสถานที่ให้2. สามารถติดต่อพราหมณ์เพื่อไปชี้จุดอันเป็นมงคลของสถานที่และกำหนดขนาดกว้าง,ยาว,สูง,ของฐานตั้งศาลด้วยเข็มทิศฮวงจุ้ยและตลับเมตรฮวงจุ้ย3. เจ้าภาพสามารถกำหนดสถานที่เองได้โดยสามารถปรึกษาพราหมณ์ได้และถ่ายรูปสถานที่ส่งให้พราหมณ์ดูถึงความเหมาะสมก่อนทำการก่อสร้างฐานสำหรับตั้งศาลโดยมีหลักการเบื้องต้นสำหรับการหาตำแหน่งที่ตั้งศาลเจ้าภาพสามารถเลือกจุดตำแหน่งได้เองดังนี้:1. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ศาลหันหน้าศาลไปทางทิศตะวันตกโดยตรง2. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ศาลหันหน้าไปประชันกับประตูบ้านหรือสำนักงานโดยตรง3. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้หันหน้าไปทางห้องน้ำโดยตรง4. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้เงาบ้านหรืออาคารมาทับตัวศาลเวลาอาทิตย์ขึ้นหรือตก5. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ตรงกับชายคาบ้านหรืออาคารตรงกับที่น้ำหล่นจากชายคา6. ควรก่อฐานตั้งศาลให้ห่างจากตัวบ้านหรืออาคารพอสมควร7. การก่อฐานตั้งศาลต้องสูงกว่าพื้นของบ้านหรืออาคาร 9 เซนติเมตรขึ้นไปโดยประมาณ8. หากต้องก่อบันไดให้ก่อบันไดของแท่นตั้งศาลต้องให้เป็นเลขคี่ เช่น 1,3,5,7 ขั้นไป9. แท่นตั้งศาลควรตั้งอยู่ในมุมที่สะอาด ไม่อับ ไม่ทึบ ไม่กีดขวางทางเข้า-ออก ไม่อยู่ใกล้สิ่งปฏิกูล เมื่อมองดูจากทางเข้าหรือทางออกมองดูแล้วเด่น สง่า ผ่าเผย3. เมื่อได้สถานที่อันควรประดิษฐานศาลแล้วก็ให้ติดต่อช่างมาทำการก่อสร้างแท่นสำหรับตั้งศาลปูกระเบื้อง,แกรนิต,หินอ่น,แกรนิตโต้หรือทำทรายล้างให้เรียบร้อย4. ขนาด กว้างxยาวxสูง ของฐานศาลให้ปรึกษาพราหมณ์ว่าเรามีความประสงค์ต้องการตั้งศาลอะไร ขนาดศาลเท่าไหร่ เช่นตั้งพระพรหมขนาด 7,9,12,16,22 นิ้วเป็นต้น5. ให้ทำการเจาะหลุมตรงกลางของฐานศาลระหว่างศาลพระพรหม-ศาลเจ้าที่หรือศาลพระภูมิ-ศาลตายายในขนาด กว้างxยาวxลึก 40x40 ซม. หรือกว้างยาวหนึ่งแผ่นกระเบื้องลึก 40 ซม. เพื่อไว้ตอกไม้มงคลและใส่เครื่องมงคลทั้ง 9(หลุมไม้มงคลไม่จำเป็นจะต้องให้อยู่ใต้ศาลนั้นๆ) โดยในวันทำพิธีพราหมณ์จะนำเจ้าภาพตอกไม้มงคลและวางเครื่องมงคลทั้ง 9 ก่อนเริ่มพิธีตั้งศาล6. เมื่อก่อสร้างแท่นสำหรับประดิษฐานศาลเสร็จแล้ว ให้เลือกจัดหาศาลโดยวิธีดังนี้.6.1 ให้พราหมณ์เป็นผู้จัดหาศาลที่ต้องโฉลกตามวันเดือนปีเกิดของเจ้าภาพ พร้อมด้วยองค์พระพรหมปิดทองคำเปลวแท้ และเครื่องบริวารบนศาลทุกอย่างให้ด้วย โดยพราหมณ์จะจัดหาให้ในราคาส่งของโรงงานที่ส่งศาลให้พราหมณ์บ่อยๆ6.2...

การ “ไหว้ศาลตายาย” ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อของคนไทยจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลัก โดยศาลตายายหรือที่เรียกกันว่า “เจ้าที่” คือการไหว้เพื่อให้วิญญาณเจ้าของที่ดินที่ล่วงลับไปแล้วแต่ยังคงสถิตอยู่ ณ สถานที่นั้น ให้ท่านได้ช่วยปกปักรักษาผู้ที่อาศัยให้ปลอดภัยจากภยันตราย ศาลตายายมักนิยมตั้งไว้ตามที่อยู่อาศัยหรือเรือกสวนไร่นาต่าง ๆ เพื่อให้ท่านได้ดูแลบ้านช่องและที่ทางทำกินของเรา ช่วยขจัดปัดเป่ามิให้มีสิ่งชั่วร้ายเข้ามา  สำหรับท่านที่ต้องการจะทราบถึงขั้นตอนการตั้งศาล วิธีการไหว้แบบต่าง ๆ ตลอดจนการเสริมดวง วันนี้เราได้นำรายละเอียดมาฝากทุกท่าน โดยปฏิบัติดังนี้  1. การตั้งศาลตายายตามหลักความเชื่อนั้นการตั้งศาลตายาย (เจ้าที่) คือการอัญเชิญดวงวิญญาณที่เป็นเจ้าของที่ดินเก่า ที่ท่านได้ทำการปลูกที่อยู่อาศัย หรือทำประโยชน์บนที่ดินผืนนั้นเมื่อครั้งอดีต ให้ขึ้นมาสถิตบนศาล เพื่อช่วยคุ้มครองดูแลเจ้าของบ้านในปัจจุบันและครอบครัวให้ปลอดภัย แต่ก่อนที่จะตั้งศาลนั้น ท่านต้องทำความเข้าใจถึงหลักการในการตั้งศาลเสียก่อน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้- เลือกพื้นที่ให้ถูกทิศทาง โดยสามารถจ้างซินแสหรือหมอดูมาเพื่อดูฮวงจุ้ยและกำหนดสถานที่ หรือเจ้าบ้านสามารถกำหนดสถานที่ได้เอง โดยการปรึกษาและถ่ายภาพส่งให้พราหมณ์ชี้จุดตำแหน่งที่ตั้ง - ตั้งศาลออกมาให้ไกลจากตัวบ้าน และห้ามตั้งไปทางทิศตะวันตกโดยตรง- ไม่ตั้งศาลหลบมุม ใกล้ของมีกลิ่น เช่น ถังขยะ ห้องน้ำ บ่อบำบัด เป็นต้น รวมถึงไม่กีดขวางประตูอาคารและประตูรั้ว- ห้ามตั้งไว้ใต้บันได เพราะเป็นพื้นที่สัญจรทำให้ไม่สงบไม่ตั้งในตำแหน่งใต้คานบ้าน จะส่งผลให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าที่ลดลง 2. การไหว้ต้องเริ่มจากการทำความสะอาดพื้นที่ในทุกครั้ง ก่อนจะไหว้ศาลตายาย (เจ้าที่) จากนั้นนำของไหว้มาถวาย พร้อมจุดธูปไหว้เจ้าที่ 5 ดอก ต่อด้วยการกล่าวคำไหว้เจ้าที่หรือคาถาไหว้เจ้าที่ ตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยคาถาว่า"อิติสุคโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปฐวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง"จากนั้นทำการขอขมา เสร็จแล้วอธิษฐานและปักธูปลงในกระถางหรือของเส้นไหว้ เพียงแค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี สำหรับท่านที่ไม่มีศาลเจ้าที่ แต่ต้องการไหว้เพื่อให้เกิดความสบายใจก็สามารถได้ด้วยการนำโต๊ะมาตั้งไว้หน้าบ้าน ให้หันหน้าเข้าหาบ้าน หรือวางไว้กลางบ้านก็ได้เช่นเดียวกัน จากนั้นให้นำกระถางธูปพร้อมของไหว้เจ้าที่มาวางไว้ เพื่อสักการะกราบไหว้ให้ท่านดูแลรักษาพื้นที่แห่งนี้ กล่าวคำไหว้และปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้น เป็นอันเสร็จพิธี3. ของไหว้มาต่อกันที่เรื่องที่หลายคนสงสัย ถ้าหากจะไหว้ศาลตายาย (เจ้าที่) ของที่จะนำมาไหว้นั้นต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง แท้จริงแล้วประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากแต่อย่างใด โดยให้ท่านสามารถจัดเตรียมของไหว้ดังต่อไปนี้ส้ม ควรจะใช้ 4 ผล (ห้ามใช้ส้มโอ) และผลไม้อื่น เช่น กล้วย หรือผลไม้อื่น ๆ ที่พร้อมทาน เพราะเชื่อว่าจะมีความอุดมสมบูรณ์พร้อมรับสิ่งดีๆ เข้ามาอาหารคาวต่าง ๆ พร้อมข้าวสวย แต่ให้เน้นอาหารไทย เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงเผ็ด หรือต้มจืด เป็นต้นขนมหวานแบบไทย ๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน เป็นต้นหมาก พลู บุหรี่ หรือยาเส้นน้ำดื่มพวงมาลัยหรือดอกไม้ ธูปและเทียน สำหรับบางพื้นหรือบางจังหวัด อาจจะมีการตั้งของไหว้ต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล รวมถึงคำแนะนำจากเจ้าพิธีที่มาประกอบพิธีกรรม 4. การลาของไหว้หลังจากที่เราทำการไหว้ตายาย เจ้าที่เจ้าทาง หรือบรรพบุรุษ เสร็จสิ้นแล้ว ให้ท่านทำการลาเจ้าที่...

ความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ การตั้งศาลพระภูมิเป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมานาน ความเชื่อนี้เกี่ยวกับ “พระภูมิ” อันหมายถึงวิญญาณ หรือสัมภเวสีที่ดูแลรักษาพื้นดินที่ผู้อยู่อาศัยมาปลูกบ้าน สร้างอาคาร สร้างสำนักงาน โดยต้องดูฤกษ์ผูกดวง และมีพิธีกรรมตั้งศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่นิยมปฏิบัติ แต่ไม่ได้เป็นข้อกำหนดว่าต้องทำทุกบ้านศาลพระภูมิ แท้จริงแล้วมีชื่อเต็มมาจากศาลพระภูมิชัยมงคลและพระภูมิยังแปลแบบตรงตัวได้ว่า เจ้าที่ ๖(คนจีนเรียกว่า ตี่จู้เอี๊ยะ) หมายถึง เจ้าที่ผู้ดูแลแผ่นดิน ที่จะช่วยปกป้องดูแลบ้านเรือน เคหะสถาน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งสวนไร่นา ซึ่งมีที่มาของความเชื่อทั้งจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่อดีต คนไทยมีความเชื่อที่ผูกกับการปลูกบ้าน เมื่อสร้างบ้านเสร็จต้องเชิญพราหมณ์หรือผู้ที่มีความรู้ด้านการตั้งศาลมาเชิญเทพให้มาสถิตที่เจว็ดในศาลพระภูมิ เพื่อขอพรบันดาลให้เกิดโชคลาภและความสุขแก่ผู้อยู่อาศัย โดยศาสนาพราหมณ์นั้นมีจุดกำเนิดมาจากโอรส 9 พระองค์ของท้าวทศราช ผู้ปกครองนคร กรุงพาลี กับพระมเหสีพระนางสันทรทุกเทวี โดยตำนานของศาลพระภูมิ เล่าถึงกษัตริย์ท้าวทศราช มีมเหสีชื่อพระนางสันทาทุกข์ ครอบครองกรุงพลี มีโอรส 9 พระองค์ แต่ละพระองค์มีความสามารถ จึงส่งไปรักษาถิ่นฐานต่างๆ ได้แก่1. พระชัยมงคล ถูกส่งไปรักษาบ้านเรือน ร้านค้า โรงหอค้าต่างๆ2. พระนครราช ถูกส่งไปรักษาประตูเมือง ป้อม และค่าย3. พระเทเพน ถูกส่งไปรักษาคอกสัตว์ โรงช้างม้า วัวควาย4. พระชัยศพณ์ ถูกส่งไปรักษายุ้งฉางข้าว เสบียงคลัง5. พระคนธรรพ์ ถูกส่งไปรักษาเรือนหอบ่าวสาว6. พระธรรมโหรา ถูกส่งไปรักษาไร่ นา ทุ่ง ลาน ป่าเขา7. พระเทวเถร ถูกส่งไปรักษาอาราม วัด วิหาร ปูชนียสถานต่างๆ8. พระธรรมิกราช ถูกส่งไปรักษาอุทยาน และสวนผลไม้9. พระทาษธารา ถูกส่งไปรักษา ห้วย หนอง คลอง บึง และแม่น้ำแต่ต่อมาได้กระทำสิ่งที่ไม่ดีและเบียดเบียนมนุษย์จนทำให้พระศิวะมีโองการให้พระนารายณ์(พระวิษณุ) อวตารลงมาปราบและเมื่อปราบสำเร็จก็ขับไล่ทุกคนออกไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ทำให้ราษฎรอยู่กันอย่างเป็นสุข ด้วยสภาพที่ต้องอยู่อย่างยากลำบากทำให้พระราชา พระมเหสี และพระโอรสทั้ง 9 สำนึกผิดและปวารณาตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรมและขอกลับมาอยู่ที่เมืองดังเดิม แต่พระนารายณ์ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเพียง 1 เสาปักลงผืนดินแทนส่วนความเชื่อทางศาสนาพุทธ ตำนานความเป็นมาของพระภูมิไนพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ เสด็จออกบวช และประทับบำเพ็ญญาณสมาบัติใต้ต้นไทรใหญ่ จนตกกลางคืนก็ปรากฎภูมิเทวดาทรงพระนามว่า พระเจ้ากรุงพาลี ซึ่งไม่พอใจที่ ที่พระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีในถิ่นตนจึงขับไล่ พระโพธิ์สัตว์จึงแสดงอิทธิฤทธิ์กินอาณาบริเวณพื้นที่ของพระเจ้ากรุงพาลีจนหมดสิ้น ทำให้พระเจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อาศัยต้องออกไปอยู่นอกเขตมนุษย์ จนทนไม่ไหวจึงให้คนใช้ 3 คน ไปขอแบ่งที่ดินจากพระโพธิ์สัตว์ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงประทานให้และทรงสั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาลีตั้งมั่นในความสุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกตลอดไปและหากกระทำการมงคลใด ๆ จะต้องทำพิธีบูชาพระเจ้ากรุงพาลีในฐานะเจ้าของที่ จึงจะประสบความสำเร็จมีความสุขและเจริญรุ่งเรืองแน่นอนว่าการที่เราคำนึงถึงหลักความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเองมีความสบายใจและส่งเสริมให้ผู้อยู่มีความเจริญก้าวหน้าแล้วยังถือเป็นการสืบถอดหลักความเชื่อและวัฒนธรรมของพวกเราให้คงอยู่ต่อไปอีกด้วย...

การตั้งศาลเจ้าที่ การตั้งศาลเจ้าที่ ต้องบอกเกี่ยวกับความหมายของคำว่า เจ้าที่ เสียก่อน เจ้าที่ก็คือ เป็นวิญญาณที่มีฤทธิ์ สามารถดูแลคุ้มครองอาณาเขตภายในบ้านของเราได้ เป็นเจ้าของดั้งเจ้าของเดิมที่อยู่ตรงนั้นมาหลายร้อยหลายพันปี จึงต้องมีการกล่าวอัญเชิญ เจ้าที่ ( ปู่เจ้าที่ ย่าเจ้าที่ ) เชิญท่านขึ้น เพื่อไม่เป็นการเหยียบย้ำท่านถือว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าที่ เป็นสิ่งสำคัญ การตั้งศาลเจ้าที่นั้น สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ก็คือ การหาตำแหน่งการตั้งศาลที่ถูกต้อง เพราะถ้าตั้งผิดตำแหน่งผิดที่ อาจส่งผลกระทบได้ ลักษณะชัยภูมิที่ถูกต้องของการตั้งศาล จะต้องเป็น ดังต่อไปนี้        1. การตั้งตรงกับประตูทางเข้าบ้าน ตำแหน่งศาลที่ถูกต้อง เวลาเดินเข้าบ้านจะต้องมองเห็นทันที ซึ่งตำแหน่งที่ตรงกับประตูถือเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะวางตำแหน่งนี้กันอยู่แล้ว แต่จะมีบางกรณีเท่านั้น ที่ศาลเจ้าที่อาจวางตำแหน่งอื่น เช่น ด้านข้างของตัวบ้าน ซึ่งมักจะเป็นการวางเพื่อแก้ไขฮวงจุ้ยมากกว่า        2. ห้ามวางศาลหลบมุม หรือมีสิ่งของมาปิดบังหน้าศาล บริเวณหน้าศาลเจ้าที่จะต้องมีพื้นที่โล่ง ห้ามมีสิ่งใดมาปิดบัง บางบ้านเอาศาลไปวางหลบอยู่ด้านหลังบ้านเดินเข้าบ้านมองไม่เห็นศาลลักษณะแบบนี้ก็เข้าข่ายวางศาลผิด        3. ห้ามวางศาลพิงห้องน้ำ นี่ถือเป็นตำแหน่งต้องห้ามเลยทีเดียว เพราะศาลเจ้าที่ถือเป็นธาตุไฟ เมื่อนำไปพิงห้องน้ำ (ธาตุน้ำ) ก็เท่ากับเอาน้ำไปพิฆาตไฟ ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลก็จะเสื่อมถอยลง หลายบ้านที่วางแบบนี้ มักจะไม่มีเจ้าที่ มีแต่ศาลเปล่าๆ ตั้งอยู่เท่านั้น        4. ห้ามวางศาลใต้บันได หรือบริเวณทางขึ้นลงบันได กรณีแบบนี้จะพบบ่อยสำหรับอาคารพาณิชย์ ที่หาตำแหน่งในการวางเจ้าที่ค่อนข้างยาก เพราะพื้นที่มีน้อย บริเวณบันไดจะก่อสภาพที่เคลื่อนไหว ศาลเจ้าที่ต้องการความนิ่งสงบ การเอาศาลไปวางบริเวณบันได ไม่ว่าจะเป็นใต้บันได หรือทางขึ้นลงบันได ก็เท่ากับรบกวนเจ้าที่โดยตรง ตำราฮวงจุ้ยบอกว่าเจ้าที่มักไม่ค่อยอยู่บ้าน (ชอบเที่ยว)        5. ห้ามวางศาลใต้คาน ศาลจะถูกคานกดทับ ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลลดทอนลงไปได้เช่นเดียวกัน        การตั้งศาลเจ้าที่ภายในบ้าน จะมีเงื่อนไขค่อนข้างทีจะมาก จึงมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่มีตำแหน่งที่เหมาะสม ก็ไม่ควรจะตั้งศาล เพราะถ้าตั้งอาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี การไม่ตั้งศาลเจ้าที่ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร หลายคนกลัวมากจนเกินเหตุ บ้านที่ไม่มีศาลใช้วิธีไหว้เจ้ากลางแจ้งในช่วงเทศกาลต่างๆ แทนก็ได้         กรณีที่ตั้งศาลเจ้าที่แล้วไม่ดูแล ปล่อยศาลทิ้งร้างไม่เคยกราบไหว้บูชาเลย อย่างนี้ก็อย่าตั้งเสียดีกว่า ถ้ารู้ว่าตัวเองไม่มีเวลา เพราะถ้าเจอเจ้าที่ประเภทจู้จี้ เจ้าระเบียบ ก็อาจจะเจอดีโดนเจ้าที่เล่นงานเอา ทำให้ป่วยบ้าง ทำให้ทะเลาะกันบ้าง หรือไม่ก็ทำให้ลูกจ้างเข้าๆ ออกๆ จนเจ้าของบ้านปวดหัวได้อุปกรณ์ตั้งศาลเจ้าที่ 1. ตา-ยาย/เจว็ดเจ้าที่ (สำคัญที่สุดในศาล) 2. ตุ๊กตาชาย หญิง  ตุ๊กตาช้างม้า (ถือเป็นข้าทาสบริวาร)3. ละครรำ4. กระถางธูป5. แจกัน6. เชิงเทียน7. ธูป เทียน ทองคำเปลว8. โอ่งเงิน ทอง9. ผ้าสามสี10. น้ำอบ แป้งเจิม น้ำมันหอม11. ข้าวตอก ถั่ว งา12. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน13. ม่านหน้าศาล14. ผ้าขาว - ผ้าแดง เครื่องสังเวย1. บายศรีปากชาม 1 คู่2. ไข่ต้มใส่บายศรี3. หมูนอนตอง 4. กุ้งพล่า ปลายำ5. ไก่ต้ม6. เผือก มันต้ม7. ปลาช่อนนอนตอง8. ถั่ว งา นมข้น9. ผลไม้มงคล 5 ชนิด10. ขนมคาว หวาน 5 ชนิด11. ต้มแดง ต้มขาว12. มะพร้าวน้ำหอม13. หมากพูล14. เหล้าขาว15. ข้าวสวย16. ดอกไม้มงคล17. พวงมาลัยดอกไม้สด...

การตั้งศาลพระภูมิ สิ่งที่ต้องคำนึงในการตั้งศาลพระภูมิ คือ สถานที่ตั้ง, ทิศทาง, วันและฤกษ์ตั้ง,ความสูงของศาลพระภูมิและผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิสถานที่ที่ตั้งศาลพระภูมิ มีหลักการพิจารณาดังนี้1. ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน2. หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ มิใช่พระภูมิเจ้าที่3. จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ4. ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ5. อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากนัก6. อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ7. ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน8. ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร9. ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้ ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง10. ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อยทิศทาง การหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล1. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุดหากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป2. ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 100 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆจนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้3. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเนย์ เป็นทิศที่ดีอันดับ 3 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 50 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆจนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ คือ ทิศตะวันตกและทิศใต้เมื่อหาทิศทางตั้งศาลได้แล้วจะต้องพูนดินให้สูง 1 คืบ เกลี่ยดินด้วยมือและทุบให้แน่น ห้ามใช้เท้าเด็ดขาด และเตรียมน้ำมนต์ไว้พรมบริเวณพื้นดินเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ น้ำมนต์ที่ว่านี้เรียกว่า " น้ำมนต์ธรณีสาร " น้ำมนต์ธรณีสารนี้ ทำได้โดยนำน้ำธรรมดาไปให้พระท่านสวดพระพุทธมนต์ทำเหมือนน้ำมนต์ทั่วไปแต่ต่างกันตรงที่ให้ท่านนำใบไม้ต้นธรณีสารมาใส่ลงในน้ำที่จะทำน้ำมนต์วันและฤกษ์ตั้งศาล มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิ์ผลในทางมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป วันต่อไปนี้ถือเป็นวันที่เป็นมงคลฤกษ์ แต่ถ้าวันข้างขึ้น หรือข้างแรมดังกล่าวไปตรงกับ วันต้องห้าม ของเดือนใด ให้เลี่ยงไปใช้วันอื่นเสียวันข้างขึ้น ๒ ค่ำ, ๔ ค่ำ, ๖ ค่ำ, ๙ ค่ำ, ๑๑ ค่ำวันข้างแรม ๒ ค่ำ, ๔ ค่ำ, ๖ ค่ำ, ๙ ค่ำ, ๑๑ ค่ำเวลาฤกษ์อันเป็นมงคลวันอาทิตย์ เวลา ๖.๐๙ น. - ๘.๑๙ น.วันจันทร์ เวลา ๘.๒๙ น. - ๑๐.๓๙ น.วันอังคาร เวลา ๖.๓๙ น. - ๘.๐๙ น.วันพุธ เวลา ๘.๓๙ น. - ๑๐.๑๙ น.วันพฤหัสบดี...

พบเห็นได้ทั่วไปว่า หลายบ้านตั้งศาลพระภูมิและสักการะบูชากันตามความเชื่อของพราหมณ์ฮินดูที่ว่า ศาลพระภูมิคือที่อยู่ของพระชัยมงคล เทพที่ปกปักรักษาคนในบ้านให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขและเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง แต่การตั้งศาลพระภูมิผิดมีผลบั่นทอนพลังของพระภูมิได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเข้าใจในรายละเอียดอย่างถูกต้อง และที่นี่มีข้อมูลที่จะตอบคำถามว่า ตั้งศาลพระภูมิใช้อะไรบ้าง และตั้งศาลพระภูมิวันไหนดี การเลือกศาลพระภูมิ ลักษณะของศาลพระภูมิ คือ มีเสาเพียงต้นเดียว โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวในการเลือกขนาด สี และความสูง ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและงบประมาณของเจ้าของบ้าน ตามตำราแล้ว ระดับชานชาลาของศาลพระภูมิควรอยู่เหนือระดับปากของเจ้าของบ้าน แต่บางตำราก็ว่า ควรอยู่เหนือระดับคิ้วของเจ้าของบ้าน ส่วนสีนั้น ไม่ควรใช้สีฟ้า สีน้ำเงิน และสีดำ ซึ่งเป็นสีของธาตุน้ำที่ไม่ถูกกับศาลพระภูมิที่เป็นธาตุไฟ องค์ประกอบของศาลพระภูมิ การตั้งศาลพระภูมิต้องเตรียมอะไรบ้าง หัวใจสำคัญของการตั้งศาลพระภูมิ คือ องค์ประกอบของศาลพระภูมิ ซึ่งมีดังนี้ เจว็ดศาลพระภูมิ เจว็ดศาลพระภูมิ คือ แผ่นไม้รูปร่างคล้ายใบเสมาหรือแกะสลักเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ โดยเมื่อทำพิธีปลุกเสกแล้ว จะเรียกว่า พระภูมิ ซึ่งเป็นประธานของศาลพระภูมิ บริวารของพระภูมิ ตุ๊กตาชาย-หญิง อย่างละ 1 คู่ ตุ๊กตาช้างม้า อย่างละ 1 คู่ ละครยก 2 โรง หรือละครรำ เครื่องประดับตกแต่งศาลพระภูมิ ผ้าผูกเจว็ด 1 ผืน แจกัน 1 คู่ เชิงเทียน 1 คู่ กระถางธูป 1 ใบ ฉัตรเงิน-ฉัตรทอง 2 คู่ ผ้าแพร 3 สีสำหรับพันศาล 1 ชุด ผ้าขาว 1 ผืน ทองคำเปลว 1 ชุด แป้งเจิม 1 ถ้วย สถานที่ตั้งศาลพระภูมิ 1. ตั้งศาลพระภูมิบนพื้นดิน โดยห้ามตั้งศาลบนพื้นเดียวกันกับตัวบ้าน แต่หากไม่มีบริเวณพื้นดินจริง ๆ ให้ตั้งศาลพระภูมิที่ชั้นดาดฟ้าได้ 2. ควรยกพื้นให้พื้นที่ตั้งศาลพระภูมิสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 1 คืบ 3. ตั้งศาลพระภูมิให้ห่างจากตัวบ้าน โดยไม่ให้เงาของตัวบ้านทอดลงมาทับศาลพระภูมิได้ 4. ห้ามหันหน้าศาลพระภูมิเข้าไปทางตัวบ้าน ห้องน้ำ และประตูของตัวบ้าน 5. ให้มีระยะห่างจากที่ตั้งศาลพระภูมิกับกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร ทิศทางของศาลพระภูมิ ตามความเชื่อโดยทั่วไป ศาลพระภูมิควรหันหน้าไปทางทิศดังนี้ ทิศที่ดีเป็นอันดับ 1 คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศที่ดีเป็นอันดับ 2 คือ ทิศตะวันออก ทิศที่ดีเป็นอันดับ 3 คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศต้องห้ามคือ ทิศตะวันตกและทิศใต้ หลังจากที่ได้ทิศทางแล้ว ต้องพูนดินบริเวณที่ตั้งศาลพระภูมิให้สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ จากนั้นให้ใช้มือเกลี่ยดินแล้วทุบให้แน่น ทั้งนี้ห้ามใช้เท้าโดยเด็ดขาด และเนื่องจากเป็นพื้นที่สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงต้องขับไล่สิ่งชั่วร้ายก่อน โดยให้นำน้ำมนต์ธรณีสาร (น้ำที่พระสงฆ์ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์โดยใส่ใบไม้ต้นธรณีสารลงในน้ำ) มาประพรมบริเวณที่ตั้งศาลพระภูมิ การปักเสาตั้งศาลพระภูมิ ก่อนวันทำพิธีตั้งศาลพระภูมิ จะต้องเตรียมหลุมสำหรับปักเสาศาลพระภูมิ โดยมีสิ่งของที่ต้องเตรียมในการปักเสา คือ พานครู 1 พาน สำหรับใส่ข้าว ธูป เทียนขาว ดอกไม้หรือพวงมาลัยสด เหล้า บุหรี่ ผ้าขาว เงิน 6 สลึงหรือ 99 บาท นอกจากนี้ จะต้องใส่ของมงคลในหลุมเสาศาลพระภูมิด้วย โดยมีรายการดังนี้ เหรียญเงินและเหรียญทองอย่างละ...

การตั้งศาลพระพรหมตามหลักศิริมงคล การตั้งศาลพระพรหม ผู้ทำพิธีตั้งอาจจะเป็นหมอชาวบ้านหรือพราหมณ์ก็ได้แต่ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม จะทำให้การตั้งศาลพระพรหมบังเกิดผลดี มีความเจริญรุ่งเรืองแก่เจ้าของบ้าน เจ้าของกิจการ สถานที่ตั้งศาลพระพรหม มีหลักการพิจารณาดังนี้ 1. ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน 2. หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ มิใช่พระภูมิเจ้าที่ 3. จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ 4. ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ 5. อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากนัก 6. อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ 7. ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน 8. ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร 9. ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้ ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง 10. ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย อุปกรณ์ตั้งศาลพระพรหม 1. องค์พระพรหม (สำคัญที่สุดในศาล) 2. ตุ๊กตาชาย หญิง ตุ๊กตาช้างม้า (ถือเป็นข้าทาสบริวาร) 3. ละครรำ 4. กระถางธูป 5. แจกัน 6. เชิงเทียน 7. ธูป เทียน ทองคำเปลว 8. แผ่นเงิน ทอง นาค 9. อิฐเงิน ทอง นาค 10. พลอยนพเก้า 11. ไม้มงคลเก้า 12. โพธิ์เงิน ทอง 13. ฉัตรเงิน ทอง 14. โอ่งเงิน ทอง 15. ผ้าสามสี 16. น้ำอบ แป้งเจิม น้ำมันหอม 17. ข้าวตอก ถั่ว งา 18. ด้ายสายสิญจน์ 1 ม้วน เครื่องสังเวยศาลพระพรหม 1. บายศรี 1 คู่ 2. หัวหมู 1 คู่ 3. กุ้งพล่า ปลายำ 4. เผือก มันต้ม 5. ปลาช่อนนอนตอง 6. ถั่ว งา นมข้น 7. ผลไม้มงคล 9 ชนิด 8. ขนมคาว หวาน 9 ชนิด 9. ต้มแดง ต้มขาว 10. มะพร้าวน้ำหอม 11. หมากพลู 12. พวงมาลัยดาวเรือง ดอกไม้สด ขั้นตอนการตั้งศาลพระพรหม โดยพราหมณ์ 1. เจ้าของสถานที่เชิญท่านพราหมณ์ไปดูสถานที่ตั้ง เลือกทำเลและทิศที่เหมาะสำหรับตั้งศาลพระพรหม 2. ท่านพราหมณ์ดูฤกษ์ยามที่เหมาะสม 3. เจ้าของสถานที่เลือกซื้อศาล พร้อมอุปกรณ์ตั้งศาล และเครื่องสังเวย 4. เมื่อถึงฤกษ์ตามวันที่กำหนด เจ้าของบ้านต้องจัดเตรียมเครื่องสังเวยไว้เพื่อเตรียมทำพิธี ท่านพราหมณ์ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ จะวางในฐานชิ้นล่างสุดของศาลพระพรหม สิ่งที่นำมาวางรากฐานประกอบไปด้วย แผ่นเงิน-ทอง-นาค, อิฐเงิน-ทอง-นาค, พลอยนพเก้า, ข้าวตอก ถั่ว งา, ดอกไม้ 9 สี และไม้มงคล 9 ชนิด...