วิธีตั้งศาลพระพิฆเนศที่ให้ถูกต้อง ปัง ๆ เฮง ๆ เสริมโชคลาภ

lord ganesha indian ganesh festival

วิธีตั้งศาลพระพิฆเนศที่ให้ถูกต้อง ปัง ๆ เฮง ๆ เสริมโชคลาภ

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश ทมิฬ: பிள்ளையார் อังกฤษ: Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระนามอื่นที่พบ เช่น พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศวร์ หรือ คณปติ เป็นเทวดาในศาสนาฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลายที่สุดพระองค์หนึ่ง พบรูปแพร่หลายทั้งในประเทศอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ฟิจิ, ไทย, บาหลี, บังคลาเทศ นิกายในศาสนาฮินดูทุกนิกายล้วนเคารพบูชาพระคเณศ ไม่ได้จำกัดเฉพาะในคาณปัตยะเท่านั้น และการบูชาพระคเณศยังพบในพุทธและไชนะอีกด้วย

พระลักษณะที่โดดเด่นจากเทพองค์อื่น ๆ คือพระเศียรเป็นช้าง เป็นที่เคารพกันโดยทั่วไปในฐานะของเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค, องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา ในฐานะที่พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น ในบทสวดบูชาต่าง ๆ ก่อนเริ่มพิธีการหรือกิจกรรมใด ๆ ก็จะเปล่งพระนามพระองค์ก่อนเสมอ ๆ

สันนิษฐานกันว่าพระคเณศน่าจะปรากฏขึ้นเป็นเทพเจ้าครั้งแรกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 ส่วนหลักฐานยืนยันว่ามีการบูชากันย้อนกลับไปเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 4–5 สมัยอาณาจักรคุปตะ ถึงแม้พระลักษณะจะพัฒนามาจากเทพเจ้าในพระเวทและยุคก่อนพระเวท เทพปกรณัมฮินดูระบุว่าพระคเณศทรงเป็นพระบุตรของพระศิวะและพระปารวตี พระองค์พบบูชากันอย่างแพร่หลายในทุกนิกายและวัฒนธรรมท้องถิ่นของศาสนาฮินดู พระคเณศทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุดในนิกายคาณปัตยะ คัมภีร์หลักของพระคเณศเช่น คเณศปุราณะ, มุทคลปุราณะ และ คณปติอรรถวศีรษะ นอกจากนี้ยังมีสารานุกรมเชิงปุราณะอีกสองเล่มที่กล่าวเกี่ยวกับพระคเณศ คือ พรหมปุราณะ และ พรหมันทปุราณะ

นอกจากนั้นพระพิฆเนศ ยังเป็นที่เคารพนับถือของ ศาสตร์ในด้านศิลปิน และศิลปะต่างๆ สังเกตได้จากในพิธีต่างๆจะมีการอัญเชิญพระพิฆเนศ มาร่วมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่คอยประสิทธิ์ประศาสตร์พรให้กับผู้ร่วมพิธีอีกด้วย

ancient ganesha statue ganesh figure lord success thai people foreign travelers travel visit respect praying blessing holy patio central world pathumwan bangkok thailand

การทำแท่น หรือฐาน สำหรับตั้งศาลพระพิฆเนศวร

การเตรียมแท่นหรือฐานสำหรับตั้งศาลต้องทำให้ตรงกับหลักของฮวงจุ้ยหรือหลักการที่ถูกต้อง

1. ต้องดูพื้นที่ และทำแท่นหรือฐานให้ถูกทิศถูกทางของบ้าน,หน่วยงาน,หรือโครงการ หรือสถานที่ประกอบการนั้นๆ โดยสามารถจ้างซินแสหรือหมอดูฮวงจุ้ยผู้ชำนาญการในการดูฮวงจุ้ยมากำหนดสถานที่ให้
2. สามารถติดต่อพราหมณ์เพื่อไปชี้จุดอันเป็นมงคลของสถานที่และกำหนดขนาดกว้าง,ยาว,สูง,ของฐานตั้งศาลด้วยเข็มทิศฮวงจุ้ยและตลับเมตรฮวงจุ้ย
3. เจ้าภาพสามารถกำหนดสถานที่เองได้โดยสามารถปรึกษาพราหมณ์ได้และถ่ายรูปสถานที่ส่งให้พราหมณ์ดูถึงความเหมาะสมก่อนทำการก่อสร้างฐานสำหรับตั้งศาล

โดยมีหลักการเบื้องต้นสำหรับการหาตำแหน่งที่ตั้งศาลเจ้าภาพสามารถเลือกจุดตำแหน่งได้เองดังนี้:
1. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ศาลหันหน้าศาลไปทางทิศตะวันตกโดยตรง
2. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ศาลหันหน้าไปประชันกับประตูบ้านหรือสำนักงานโดยตรง
3. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้หันหน้าไปทางห้องน้ำโดยตรง
4. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้เงาบ้านหรืออาคารมาทับตัวศาลเวลาอาทิตย์ขึ้นหรือตก
5. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ตรงกับชายคาบ้านหรืออาคารตรงกับที่น้ำหล่นจากชายคา
6. ควรก่อฐานตั้งศาลให้ห่างจากตัวบ้านหรืออาคารพอสมควร
7. การก่อฐานตั้งศาลต้องสูงกว่าพื้นของบ้านหรืออาคาร 9 เซนติเมตรขึ้นไปโดยประมาณ
8. หากต้องก่อบันไดให้ก่อบันไดของแท่นตั้งศาลต้องให้เป็นเลขคี่ เช่น 1,3,5,7 ขั้นไป
9. แท่นตั้งศาลควรตั้งอยู่ในมุมที่สะอาด ไม่อับ ไม่ทึบ ไม่กีดขวางทางเข้า-ออก ไม่อยู่ใกล้สิ่งปฏิกูล เมื่อมองดูจากทางเข้าหรือทางออกมองดูแล้วเด่น สง่า ผ่าเผย
3. เมื่อได้สถานที่อันควรประดิษฐานศาลแล้วก็ให้ติดต่อช่างมาทำการก่อสร้างแท่นสำหรับตั้งศาลปูกระเบื้อง,แกรนิต,หินอ่น,แกรนิตโต้หรือทำทรายล้างให้เรียบร้อย
4. ขนาด กว้างxยาวxสูง ของฐานศาลให้ปรึกษาพราหมณ์ว่าเรามีความประสงค์ต้องการตั้งศาลอะไร ขนาดศาลเท่าไหร่ เช่นตั้งพระพรหมขนาด 7,9,12,16,22 นิ้วเป็นต้น
5. ให้ทำการเจาะหลุมตรงกลางของฐานศาลระหว่างศาลพระพรหม-ศาลเจ้าที่หรือศาลพระภูมิ-ศาลตายายในขนาด กว้างxยาวxลึก 40×40 ซม. หรือกว้างยาวหนึ่งแผ่นกระเบื้องลึก 40 ซม. เพื่อไว้ตอกไม้มงคลและใส่เครื่องมงคลทั้ง 9

(หลุมไม้มงคลไม่จำเป็นจะต้องให้อยู่ใต้ศาลนั้นๆ) โดยในวันทำพิธีพราหมณ์จะนำเจ้าภาพตอกไม้มงคลและวางเครื่องมงคลทั้ง 9 ก่อนเริ่มพิธีตั้งศาล
6. เมื่อก่อสร้างแท่นสำหรับประดิษฐานศาลเสร็จแล้ว ให้เลือกจัดหาศาลโดยวิธีดังนี้.
6.1 ให้พราหมณ์เป็นผู้จัดหาศาลที่ต้องโฉลกตามวันเดือนปีเกิดของเจ้าภาพ พร้อมด้วยองค์พระพรหมปิดทองคำเปลวแท้ และเครื่องบริวารบนศาลทุกอย่างให้ด้วย โดยพราหมณ์จะจัดหาให้ในราคาส่งของโรงงานที่ส่งศาลให้พราหมณ์บ่อยๆ
6.2 หากเจ้าภาพมีเวลาก็สามารถตระเวณจัดหาศาลและเครื่องขึ้นศาลตามร้านด้วยตนเองโดยพราหมณ์จะแจ้งสีของศาลที่ต้องตามโฉลกของเจ้าภาพ
7. เมื่อดำเนินการทุกอย่างเสร็จก็รอฤกษ์ยามวันประกอบพิธีจริงที่จะมาถึง

บริษัท บิ๊ก ทรี (15) จำกัด จังหวัดนครปฐม
สุวัฒน์ การช่าง
sarnphraphoomthai@gmail.com
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.