ตั้งศาลพระพิฆเนศ Tag

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश ทมิฬ: பிள்ளையார் อังกฤษ: Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระนามอื่นที่พบ เช่น พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศวร์ หรือ คณปติ เป็นเทวดาในศาสนาฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างแพร่หลายที่สุดพระองค์หนึ่ง พบรูปแพร่หลายทั้งในประเทศอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ฟิจิ, ไทย, บาหลี, บังคลาเทศ นิกายในศาสนาฮินดูทุกนิกายล้วนเคารพบูชาพระคเณศ ไม่ได้จำกัดเฉพาะในคาณปัตยะเท่านั้น และการบูชาพระคเณศยังพบในพุทธและไชนะอีกด้วยพระลักษณะที่โดดเด่นจากเทพองค์อื่น ๆ คือพระเศียรเป็นช้าง เป็นที่เคารพกันโดยทั่วไปในฐานะของเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค, องค์อุปถัมภ์แห่งศิลปวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทั้งปวง และทรงเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดเฉลียวและปัญญา ในฐานะที่พระองค์ยังทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้น ในบทสวดบูชาต่าง ๆ ก่อนเริ่มพิธีการหรือกิจกรรมใด ๆ ก็จะเปล่งพระนามพระองค์ก่อนเสมอ ๆสันนิษฐานกันว่าพระคเณศน่าจะปรากฏขึ้นเป็นเทพเจ้าครั้งแรกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 ส่วนหลักฐานยืนยันว่ามีการบูชากันย้อนกลับไปเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 4–5 สมัยอาณาจักรคุปตะ ถึงแม้พระลักษณะจะพัฒนามาจากเทพเจ้าในพระเวทและยุคก่อนพระเวท เทพปกรณัมฮินดูระบุว่าพระคเณศทรงเป็นพระบุตรของพระศิวะและพระปารวตี พระองค์พบบูชากันอย่างแพร่หลายในทุกนิกายและวัฒนธรรมท้องถิ่นของศาสนาฮินดู พระคเณศทรงเป็นเทพเจ้าสูงสุดในนิกายคาณปัตยะ คัมภีร์หลักของพระคเณศเช่น คเณศปุราณะ, มุทคลปุราณะ และ คณปติอรรถวศีรษะ นอกจากนี้ยังมีสารานุกรมเชิงปุราณะอีกสองเล่มที่กล่าวเกี่ยวกับพระคเณศ คือ พรหมปุราณะ และ พรหมันทปุราณะนอกจากนั้นพระพิฆเนศ ยังเป็นที่เคารพนับถือของ ศาสตร์ในด้านศิลปิน และศิลปะต่างๆ สังเกตได้จากในพิธีต่างๆจะมีการอัญเชิญพระพิฆเนศ มาร่วมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่คอยประสิทธิ์ประศาสตร์พรให้กับผู้ร่วมพิธีอีกด้วย การทำแท่น หรือฐาน สำหรับตั้งศาลพระพิฆเนศวรการเตรียมแท่นหรือฐานสำหรับตั้งศาลต้องทำให้ตรงกับหลักของฮวงจุ้ยหรือหลักการที่ถูกต้อง1. ต้องดูพื้นที่ และทำแท่นหรือฐานให้ถูกทิศถูกทางของบ้าน,หน่วยงาน,หรือโครงการ หรือสถานที่ประกอบการนั้นๆ โดยสามารถจ้างซินแสหรือหมอดูฮวงจุ้ยผู้ชำนาญการในการดูฮวงจุ้ยมากำหนดสถานที่ให้2. สามารถติดต่อพราหมณ์เพื่อไปชี้จุดอันเป็นมงคลของสถานที่และกำหนดขนาดกว้าง,ยาว,สูง,ของฐานตั้งศาลด้วยเข็มทิศฮวงจุ้ยและตลับเมตรฮวงจุ้ย3. เจ้าภาพสามารถกำหนดสถานที่เองได้โดยสามารถปรึกษาพราหมณ์ได้และถ่ายรูปสถานที่ส่งให้พราหมณ์ดูถึงความเหมาะสมก่อนทำการก่อสร้างฐานสำหรับตั้งศาลโดยมีหลักการเบื้องต้นสำหรับการหาตำแหน่งที่ตั้งศาลเจ้าภาพสามารถเลือกจุดตำแหน่งได้เองดังนี้:1. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ศาลหันหน้าศาลไปทางทิศตะวันตกโดยตรง2. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ศาลหันหน้าไปประชันกับประตูบ้านหรือสำนักงานโดยตรง3. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้หันหน้าไปทางห้องน้ำโดยตรง4. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้เงาบ้านหรืออาคารมาทับตัวศาลเวลาอาทิตย์ขึ้นหรือตก5. ห้ามก่อฐานตั้งศาลให้ตรงกับชายคาบ้านหรืออาคารตรงกับที่น้ำหล่นจากชายคา6. ควรก่อฐานตั้งศาลให้ห่างจากตัวบ้านหรืออาคารพอสมควร7. การก่อฐานตั้งศาลต้องสูงกว่าพื้นของบ้านหรืออาคาร 9 เซนติเมตรขึ้นไปโดยประมาณ8. หากต้องก่อบันไดให้ก่อบันไดของแท่นตั้งศาลต้องให้เป็นเลขคี่ เช่น 1,3,5,7 ขั้นไป9. แท่นตั้งศาลควรตั้งอยู่ในมุมที่สะอาด ไม่อับ ไม่ทึบ ไม่กีดขวางทางเข้า-ออก ไม่อยู่ใกล้สิ่งปฏิกูล เมื่อมองดูจากทางเข้าหรือทางออกมองดูแล้วเด่น สง่า ผ่าเผย3. เมื่อได้สถานที่อันควรประดิษฐานศาลแล้วก็ให้ติดต่อช่างมาทำการก่อสร้างแท่นสำหรับตั้งศาลปูกระเบื้อง,แกรนิต,หินอ่น,แกรนิตโต้หรือทำทรายล้างให้เรียบร้อย4. ขนาด กว้างxยาวxสูง ของฐานศาลให้ปรึกษาพราหมณ์ว่าเรามีความประสงค์ต้องการตั้งศาลอะไร ขนาดศาลเท่าไหร่ เช่นตั้งพระพรหมขนาด 7,9,12,16,22 นิ้วเป็นต้น5. ให้ทำการเจาะหลุมตรงกลางของฐานศาลระหว่างศาลพระพรหม-ศาลเจ้าที่หรือศาลพระภูมิ-ศาลตายายในขนาด กว้างxยาวxลึก 40x40 ซม. หรือกว้างยาวหนึ่งแผ่นกระเบื้องลึก 40 ซม. เพื่อไว้ตอกไม้มงคลและใส่เครื่องมงคลทั้ง 9(หลุมไม้มงคลไม่จำเป็นจะต้องให้อยู่ใต้ศาลนั้นๆ) โดยในวันทำพิธีพราหมณ์จะนำเจ้าภาพตอกไม้มงคลและวางเครื่องมงคลทั้ง 9 ก่อนเริ่มพิธีตั้งศาล6. เมื่อก่อสร้างแท่นสำหรับประดิษฐานศาลเสร็จแล้ว ให้เลือกจัดหาศาลโดยวิธีดังนี้.6.1 ให้พราหมณ์เป็นผู้จัดหาศาลที่ต้องโฉลกตามวันเดือนปีเกิดของเจ้าภาพ พร้อมด้วยองค์พระพรหมปิดทองคำเปลวแท้ และเครื่องบริวารบนศาลทุกอย่างให้ด้วย โดยพราหมณ์จะจัดหาให้ในราคาส่งของโรงงานที่ส่งศาลให้พราหมณ์บ่อยๆ6.2...